โครงการ BAAC Carbon Credit เป็นโครงการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายใต้แนวคิด “สร้างรายได้ให้ชุมชน คืนสู่ธรรมชาติ” โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนธนาคารต้นไม้สามารถขายคาร์บอนเครดิตเพื่อนำรายได้มาพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปลูกต้นไม้ต่อไป

โครงการ BAAC Carbon Credit

ธ.ก.ส. ผนึกกำลังชุมชนธนาคารต้นไม้และชุมชนไม้มีค่ากว่า 6,800 ชุมชน ขับเคลื่อนภารกิจซื้อ – ขายคาร์บอนเครดิตในโครงการ BAAC Carbon Credit พร้อมออกใบ Certificate มาตรฐาน T-VER จาก อบก. ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เริ่มจากการขึ้นทะเบียนโครงการ การตรวจนับจำนวนต้นไม้ การตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตจากผู้ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body: VVB) การรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตจากองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อนำปริมาณการกักเก็บดังกล่าวไปตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

นำร่องโครงการธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่และธนาคารต้นไม้บ้านแดง จังหวัดขอนแก่น จำนวนคาร์บอนเครดิต 453 ตันคาร์บอน  โดยขายกึ่ง CSR ในราคาตันละ 3,000 บาท คิดเป็นเงินรวม 1,359,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เกษตรกรในชุมชนจะมีรายได้ประมาณ 951,300 บาท โดยมีหลักการคำนวรคาร์บอนเครดิตดังนี้ ต้นไม้ 1 ต้น ช่วยสร้างปริมาณคาร์บอนเครดิตได้เฉลี่ย 9.5 กิโลกรัมคาร์บอนต่อปี พื้นที่ขนาด 1 ไร่ ปลูกต้นไม้ได้เฉลี่ย 100 ต้น/ไร่ จะได้ปริมาณคาร์บอนเครดิต 950 กิโลกรัมคาร์บอนต่อปี ณ ราคาขายกึ่ง CSR 3,000 บาทต่อตันคาร์บอน (อัตราคำนวณรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 70 : 30) เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น ค่าขึ้นทะเบียนต้นไม้ในแต่ละต้น การตรวจนับและประเมิน การออกใบรับรอง เป็นต้น คิดเป็น ร้อยละ 30 ของมูลค่าการขาย ดังนั้น เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายที่ร้อยละ 70 ของราคาขาย หรือประมาณ 2,000 บาทต่อไร่ต่อปี หรือกรณีปลูกต้นไม้แบบหัวไร่ปลายนา จะสามารถปลูกได้เฉลี่ย 40 ต้น/ไร่ คิดเป็น 380 กิโลกรัมคาร์บอนต่อไร่ต่อปี จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายหลังหักค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 800 บาทต่อไร่ต่อปี

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) พัฒนาโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลต้นไม้ของชุมชนธนาคารต้นไม้และชุมชนไม้มีค่า โดยแอปพลิเคชันนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถบันทึกข้อมูลต้นไม้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ตรวจสอบได้ มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สามารถบันทึกข้อมูลต้นไม้ ประกอบด้วย ชนิดต้นไม้ อายุต้นไม้ ความสูงของต้นไม้ พิกัด GPS เป็นต้น คำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิต ตรวจสอบข้อมูลต้นไม้ ติดตามประเมินผลการปลูกต้นไม้

ประโยชน์ของการ ขายคาร์บอนเครดิตในโครงการ BAAC Carbon Credit

  • เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนธนาคารต้นไม้ เพื่อนำไปพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปลูกต้นไม้ต่อไป
  • สนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โครงการ BAAC Carbon Credit เป็นหนึ่งในโครงการที่ ธ.ก.ส. ดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รู้จักกับชุมชนธนาคารต้นไม้

ชุมชนธนาคารต้นไม้ เป็นชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมการปลูกต้นไม้ตามแนวทางพระราชดำริ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ในที่ดินของตนเองและชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ชุมชนธนาคารต้นไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การดำเนินงานของชุมชนธนาคารต้นไม้ ดำเนินการโดยชุมชนเป็นหลัก โดยมี ธ.ก.ส. ทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของชุมชน ดังนี้

  • ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในที่ดินของตนเองและชุมชนตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
  • ประเมินมูลค่าต้นไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นเงินออม เป็นทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เป็นหลักประกัน ใช้กับรัฐและสถาบันการเงินที่รัฐกำหนด
  • ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้อย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส ชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบได้ มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
photo : freepik

ปัจจุบัน โครงการธนาคารต้นไม้ มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการกว่า 6,800 ชุมชนทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 40 ล้านไร่ มีการบันทึกข้อมูลต้นไม้กว่า 100 ล้านต้น

ประโยชน์ของชุมชนธนาคารต้นไม้ มีดังนี้

  • เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
  • เพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน
  • ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ชุมชนธนาคารต้นไม้ เป็นรูปแบบหนึ่งของการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยพลังของชุมชนในการร่วมกันปลูกต้นไม้และดูแลรักษาป่าไม้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนและประเทศชาติในระยะยาว

รู้จักกับชุมชนไม้มีค่า

ชุมชนไม้มีค่า เป็นชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมการปลูกต้นไม้ไม้มีค่าในที่ดินของตนเองและชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมป่าไม้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นต้น ชุมชนไม้มีค่า มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

photo : freepik

การดำเนินงานของชุมชนไม้มีค่า ดำเนินการโดยชุมชนเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของชุมชน ดังนี้

  • ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ไม้มีค่าในที่ดินของตนเองและชุมชน
  • ประเมินมูลค่าต้นไม้ไม้มีค่าเพื่อเป็นเงินออม เป็นทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เป็นหลักประกัน ใช้กับรัฐและสถาบันการเงินที่รัฐกำหนด
  • ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้อย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส ชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบได้ มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน โครงการชุมชนไม้มีค่า มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการกว่า 20,000 ชุมชนทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 26 ล้านไร่ มีการบันทึกข้อมูลต้นไม้กว่า 1,000 ล้านต้น

ความแตกต่างระหว่างชุมชนธนาคารต้นไม้และชุมชนไม้มีค่า

ชุมชนธนาคารต้นไม้และชุมชนไม้มีค่า มีวัตถุประสงค์ที่เหมือนกัน คือ การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยพลังของชุมชนในการร่วมกันปลูกต้นไม้และดูแลรักษาป่าไม้ แต่มีความแตกต่างในด้านประเภทของต้นไม้ที่ปลูก ชุมชนธนาคารต้นไม้เน้นการปลูกต้นไม้หลากหลายชนิดตามแนวทางพระราชดำริ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ในขณะที่ชุมชนไม้มีค่าเน้นการปลูกต้นไม้ไม้มีค่าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ชุมชนธนาคารต้นไม้ยังได้รับการสนับสนุนจาก ธ.ก.ส. ในการจัดทำระบบฐานข้อมูลและประเมินมูลค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นเงินออม เป็นทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เป็นหลักประกัน ในขณะที่ชุมชนไม้มีค่าได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมป่าไม้ เป็นต้น

ปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 6,814 ชุมชน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนกว่า 12.4 ล้านต้น มีสมาชิก 124,071 คน มูลค่าต้นไม้ในโครงการกว่า 43,000 ล้านบาท และมีการเตรียมประเมินมูลค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในปี 2566 คิดเป็นมูลค่ากว่า 760 ล้านบาท สำหรับหน่วยงานที่สนใจซื้อขายคาร์บอนเครดิต หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชนบท ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ 2346 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Center 02 555 0555

สวัสดีครับ ภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือความเสี่ยงด้านกายภาพ (Physical Risk) ที่คุกคามโลกของเรามากขึ้นทุกวัน นายอันโตนิโอ กุเตอเรส เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ถึงกับเอ่ยว่าตอนนี้โลกของเราผ่านจุดภาวะโลกร้อนและเข้าสู่ภาวะ “โลกเดือด” (Global Boiling) เรียบร้อยแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้นภัย “เอลนีโญ” ที่เกิดขึ้นซ้ำเติมโลกอาจจะทุบสถิติใหม่ทำโลกเดือดหนักกว่าเดิมในปี 2567 เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดเผยผลงานวิจัยว่าความเสียหายสะสมจากโลกร้อนต่อภาคเกษตรไทยระหว่างปี 2554-2588 อาจมีมูลค่าสูงถึงระหว่าง 6 แสนล้านบาทถึง 2.85 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ อย่างที่ทราบกันดีว่า นอกจากภาคเกษตรของไทยจะมีโอกาสได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากภาวะโลกร้อนแล้ว ยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญโดยเฉพาะจากการปลูกข้าวอีกด้วย                

ทางเลือกและอาจจะเป็นทางรอดที่น่าสนใจสำหรับภาคเกษตรคือ การทำการเกษตรเพื่อขายคาร์บอนเครดิต  ซึ่งเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายๆ ประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ พร้อมส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ผ่านการคัดเลือกพืชพันธุ์ที่สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี เกษตรกรที่นำแนวคิดนี้ไปใช้จะสามารถรับผลตอบแทนเป็นคาร์บอนเครดิตหรือหน่วยของการลดคาร์บอนที่ทำได้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยอาจจะครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี 5 ปี หรือระยะยาวที่ 10 ปี เป็นต้น

การทำการเกษตรเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน การกักเก็บน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการรับมือกับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร และยังสามารถสร้างรายได้ผ่านกลไกการซื้อและขายคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งองค์กรใหญ่ๆ ที่ต้องการชดเชยการปล่อยมลพิษของตน

ก็อาจจะเข้ามาขอซื้อคาร์บอนเครดิตจากเกษตรกรที่ทำคาร์บอนเครดิตผ่านแพลตฟอร์ม ทำให้เกษตรกรสามารถนำเงินที่ได้ไปหมุนเวียนเพื่อลงทุนทำการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป เมื่ออ้างอิงตามข้อมูลจากแพลตฟอร์มขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 ราคาคาร์บอนเครดิตโดยเฉลี่ยต่อตันอยู่ที่ประมาณ 83.03 บาท

ขณะนี้ประเทศไทยเรามีโครงการที่ใกล้เคียงกับแนวคิดข้างต้น นั่นคือโครงการก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจาก อบก. ตั้งแต่ปี 2557 โดยเป็นกลไกคาร์บอนเครดิตในรูปแบบสมัครใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก

โดย อบก. จะประเมินและรับรองคาร์บอนเครดิตจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดหรือกักเก็บได้จากการดำเนินงานภายใต้โครงการ โครงการ T-VER นี้สามารถนำมาใช้ลดกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรได้ โดยลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ก่อให้เกิดไนตรัสออกไซด์ ปรับเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักแทน รวมถึงปรับปรุงการจัดการน้ำ อาทิ ลดระยะเวลาน้ำขัง การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง เป็นต้น

แนวทางนี้อาจจะกลายเป็น “ขุมทรัพย์” แห่งใหม่ที่ทำให้เกษตรกรไทยสามารถสร้างรายได้เพื่อเก็บเกี่ยวดอกผลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพและเหมาะกับการทำเกษตรอย่างยั่งยืน หากภาคการเกษตรสนใจเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนด ได้แก่ มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป มีเอกสารสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและการจัดทำเอกสาร และมีงบประมาณในการว่าจ้างผู้ประเมินภายนอกมาสอบทานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบันมีโครงการที่ขึ้นทะเบียน T-VER แล้วทั้งหมด 350 โครงการ แต่มีโครงการด้านการเกษตรอยู่เพียง 4 โครงการ โดยคาดว่าทั้ง 4 โครงการนี้จะสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้รวมประมาณ 89,408 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี จึงถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่มากๆ สำหรับภาคเกษตรไทย

อีกหนึ่งแรงส่งที่สำคัญคือสถาบันการเงินที่มีบทบาทในการสนับสนุนการทำการเกษตรเพื่อขายคาร์บอนเครดิตโดยอาจจะเริ่มจากการยื่นมือให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ให้คำปรึกษา หรือแม้กระทั่งคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นเฉพาะการทำเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อการรับรองคาร์บอนเครดิตด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ ยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารยังสามารถขยายขอบเขตความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อลงทุนและส่งเสริมโครงการคาร์บอนเครดิตเพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนเครดิตที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ดังนั้น คาร์บอนเครดิตจึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์รักษ์โลกแนวใหม่ที่มีศักยภาพที่ช่วยเพิ่มแหล่งรายได้ให้กับภาคการเกษตรในอนาคต และการทำการเกษตรเพื่อสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตนี้ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราทุกคนได้ตระหนักแล้วว่า การลดผลกระทบจากสภาวะโลกเดือดไม่ใช่ “ทางเลือก” อีกต่อไป 

แต่ได้กลายเป็น “ทางรอด” หากประเทศไทยเริ่มทำอย่างจริงจัง ก็อาจจะส่งแรงกระเพื่อมให้หลายประเทศ หันมาสนใจแนวทางการเกษตรเพื่อความยั่งยืน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนในประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตสีเขียวร่วมกันครับ

Source : กรุงเทพธุรกิจ

โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน เป็นโครงการของกระทรวงมหาดไทย โดยได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ตามแนวทางและแผนปฏิบัติการที่กำหนด โดยให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักและความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการคัดแยกขยะเศษอาหารหรือขยะเปียกในครัวเรือน เพื่อช่วยลดขยะที่ต้นทาง ลดภาระทางงบประมาณของท้องถิ่นในการจัดการขยะ และยังช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก พร้อมทั้งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมรับการทวนสอบจากผู้ประเมินภายนอก (Validation and verification Body :VVB) ในขั้นตอนการรับรองคาร์บอนเครดิต

ทั้งนี้ โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและสามารถนำมารับรองคาร์บอนเครดิตได้ โดยมีระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิตตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 มิถุนายน 2569

โดยการคัดแยกขยะเปียกสามารถช่วยลดโลกร้อนได้ และยังแปลงให้กายเป็นคาร์บอนเครดิต ราคาตันละ 260 บาท เป็นทุนกลับคืนสู่หมู่บ้านและชุมชน มีธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งขณะนี้โครงการถังขยะเปียกลดโรคร้อน มีการเริ่มทำที่ 4 จังหวัดต้นแบบ ได้แก่ ลำพูน เลย สมุทรสงคราม และอำนาจเจริญ และจะมีการขยายโครงการอื่นๆ ไปอีกราวๆ 22 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปลี่ยนขยะเปียกให้กลายเป็นคาร์บอนเครดิตได้ในระดับ 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซค์ ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากทางภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาช่วยรับรองระเบียบวิธีการวิจัย ในการบริหารจัดการ และส่งต่อให้ทาง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) คิดเป็นค่าคาร์บอนเครดิตออกมา

ประโยชน์ของถังขยะเปียก ลดโลกร้อน

  1. การจัดการขยะเศษอาหารลดปริมาณขยะต้นทางและทำให้เกิดสุขอนามัยที่ดี
  2. ลดการปนเปื้อนของขยะเปียกกับเศษวัสดุและของเหลือใช้อื่นๆ ทำให้สะอาดและสะดวกต่อการคัดแยก ไปจนถึงลดปริมาณขยะในชุมชน
  3. เพิ่มรายได้จากการแยกขยะที่ไม่ปนเปื้อนออกไปขายที่ธนาคารขยะ
  4. ลดภาระทางงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเก็บขนและบริหารจัดการขยะ ทำให้สามารถนำงบประมาณที่เหลือไปใช้ในด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็นมากกว่า
  5. ได้สารบำรุงดินหรือปุ๋ยหมักไว้ใช้ในครัวเรือน ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้มีพืชผักที่ปลอดภัยไว้รับประทานในครัวเรือน ลดรายจ่ายหรือสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง
  6. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) สู่ชั้นบรรยากาศจากการจัดการขยะต้นทางจนลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกในการจัดการปลายทางที่หลุมฝังกลบและ
  7. มีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจกลับคืนสู่ท้องถิ่น

วิธีทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน

สำหรับวิธีทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนนั้น ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เทคนิคอยู่ที่การดัดแปลงถังขยะแบบเดิม แล้วนำไปฝังดิน

  1. เตรียมถังที่เหลือใช้ที่มีฝาปิด จากนั้นให้ทำการตัดก้นถังออกไป
  2. นำถังขยะไปฝังดินที่มีความลึกประมาณ 2 ใน 3 ของถัง โดยให้ก้นถังอยู่เหนือจากก้นหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร
  3. นำเศษอาหารเทใส่ถังแล้วปิดฝา
  4. เมื่อนำเศษอาหารใส่ลงไป ควรจะกวดเศษอาหารทุกครั้งเพื่อเพิ่มอากาศภายในถัง
  5. เมื่อปริมาณเศษอาหารเต็มถัง ให้ดึงถังออก แล้วนำดินมากลบหลุมให้เรียบร้อย
  6. ดึงถังออกแล้วย้ายไปฝังยังจุดอื่นๆ แล้วทำแบบเดียวกันต่อไป

กรณีที่มีกลิ่นเหม็น อาจจะใช้น้ำหมัก EM เติมเข้าไปเพื่อลดกลิ่น และช่วยเรื่องของการย่อยสลายได้ และเมื่อใส่ขยะแล้วอย่าลืมปิดฝาให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันกลิ่มเหม็น และสัตว์มาคุ้ยเขี่ยเศษอาหารภายในถัง

ภาพจาก : องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง

ขยะที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มีอะไรบ้าง

  • ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ
  • กระดูก เปลือก และกระดองของสัตว์
  • ผัก ผลไม้ เมล็ดผลไม้
  • เศษอาหารสด เศษเปลือกไข่
  • กากกาแฟ
  • มูลสัตว์

และขยะที่ไม่ควรนำมาแปรรูปมีดังนี้

  • กิ่งไม้ และใบไม้
  • กระดาษ
  • เศษผ้าต่างๆ
  • โลหะ
  • พลาสติก
  • เศษกระจก
  • น้ำมัน
  • ยาฆ่าเชื้อ
  • สารฟอกขาว
  • ผักที่มีความแข็ง เช่น แกนข้าวโพด เป็นต้น

ขอบคุณภาพประกอบ : เทศบาลตำบลปากน้ำหลังสวน / เทศบาลตำบลทรายมูล

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ได้จัดทำสัญญามาตรฐาน สําหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ผ่านการรับรอง (VERYs)และใบรับรองเครดิตพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Certificate ( REC )

เพื่อให้บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และผู้ที่สนใจใช้เป็น กรอบการทำสัญญาที่เป็นมาตรฐานในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และ ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน REC

ดาวน์โหลดไฟล์ สัญญามาตรฐาน : https://shorturl.asia/wQXKI
ศึกษาคู่มือการใช้สัญญามาตรฐาน : https://shorturl.asia/ogEXa

ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ระบุว่าหนึ่งในมาตรการสำคัญที่เรียกได้ว่ามีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่เป็นคู่ค้าของกลุ่มประเทศ EU คือ มาตรการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นมาตรการภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)

ที่เป็นกลไกการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน หรือ CBAM ซึ่งเกิดจากการที่ EU ใช้มาตรการ EU ETS (Emission Trading Scheme) เก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ นำไปสู่การชดเชย และซื้อขายคาร์บอน ผ่านตลาดคาร์บอนเครดิต ที่ทั่วโลกมีแพลตฟอร์มกลางใช้เสนอขายและต่อรองราคาซื้อกันอย่างกว้างขวาง ในส่วนของแพลตฟอร์มกลางของสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ UNFCCC ได้ระบุถึงแพลตฟอร์มการซื้อขายโครงการที่ลด หลีกเลี่ยง หรือ เลิกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยโครงการต่างๆ ที่นำเสนอราคาขายผ่านแพลตฟอร์มจะต้องผ่านการรับรองความสามารถการลดก๊าซเรือนกระจก หรือ  Certified Emission Reductions (CERs) จากนั้นจะต้องแจ้งปริมาณการลดคาร์บอนก่อนจะเปิดขาย ซึ่งผู้ซื้อจะเป็นธุรกิจหรือองค์กรที่มีการปล่อยคาร์บอนเกินกำหนดจนอาจถูกมาตรการทางการค้า หรือมาตรการอื่นๆ

ตลาดคาร์บอนเครดิตโลก กลุ่มพลังงานน้ำศักยภาพสูงสุด

Source : กรุงเทพธุรกิจ