News & Update

ไม่ระเบิดซ้ำซ้อน! เยอรมนีสั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่งในประเทศแล้ว

ผลพวงจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิด เกิดข้อถกเถียงมานานหลายปี ในที่สุด ตอนนี้เยอรมนีได้สั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่งแล้วทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำซ้อน

เกิดข้อถกเถียงกันมานานแล้วสำหรับเยอรมนี เรื่องพลังงานนิวเคลียร์ ที่ในอดีตเป็นพลังงานหลักและความรุ่งเรืองของเยอรมนี แต่ในปัจจุบัน เมื่อพรรคการเมืองแบ่งฝ่าย รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศทำให้ข้อถกเถียงนี้กลับมารุนแรงขึ้น

โดยเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2023 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศการยุติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งสุดท้ายอย่างเป็นทางการแล้ว และข้อตกลงเป็นอันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ตอนนี้เยอรมนีปราศจากพลังงานนิวเคลียร์อีกต่อไป และนี่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของเยอรมนี

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะไม่มีอีกต่อไปในเยอรมนี Cr. Pixarbayโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะไม่มีอีกต่อไปในเยอรมนี Cr. Pixarbay

เดิมทีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีแผนจะปิดตัวลงเมื่อสิ้นปี 2022 แต่ด้วยการเดินหน้าท่ามกลางวิกฤตพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน จึงเกรงว่าประชาชนจะได้รับความลำบากเรื่องราคาและการขาดแคลนพลังงานไว้ใช้ในฤดูหนาว

รัฐบาลจึงตัดสินใจเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เดินเครื่องต่ออีก 3 แห่งได้แก่ Isar 2 ในบาวาเรีย, Neckarwestheim ทางเหนือของ Stuttgart และ Emsland ใน Lower Saxony เพื่อให้ประชาชนมีพลังงานเพียงพอสำหรับฤดูหนาวในปีที่ผ่านมา

ข้อพิพาทการปิดโรงงาน

ฝ่านค้าน

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยให้ความเห็นว่า การปิดโรงงานทั้ง 3 แห่งท่ามกลางราคาพลังงานที่สูง อาจทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงาน รัฐไม่คำนึงถึงบทบาทของพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากเยอรมนีลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าลง ทำให้สัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย

นอกจากนี้ฝ่านค้านยังให้เรียกว่าที่ปิดโรงงานนิวเคลียร์ด้วยว่า “วันสีดำสำหรับการปกป้องสภาพอากาศ” เนื่องจากการปิดโรงงานนิวเคลียร์ทำให้การใช้พลังงานถ่านหินสูงขึ้น พวกเขายังมั่นใจว่าโรงงานนิวเคลียร์ทั้ง 3 แห่งนั้น เป็นโรงงานที่ทันสมัยและปลอดภัยที่สุดในโลกแล้ว แต่การปิดนี้จะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ด้านเศรษฐกิจและระบบนิเวศ

ปิดแล้วคนจะเอาพลังงานที่ไหนใช้ Cr. Pixarbayปิดแล้วคนจะเอาพลังงานที่ไหนใช้ Cr. Pixarbay

ฝ่ายสนับสนุน

ฝ่ายสนับสนุนมองว่า ข้อพิพาทนี้มันเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด นั่นจึงเป็นเหตุที่เราควรปิดมันได้แล้ว และด้วยเหตุผลนี้ก็เลยทำให้เยอรมนีสร้างโรงงานนิวเคลียร์ใหม่ไม่แล้วเสร็จสักทีตั้งปต่ปี 1989

และในความเป็นจริง ตั้งแต่ปี 1998 รัฐบาลที่นำโดยพรรคโซเชียลเดโมแครตและพรรคกรีนส์ตกลงกันแล้วว่าจะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวกลายมาเป็นข้อกฎหมายในปี 2002 โดยห้ามก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่เพิ่มอีกและจำกัดอายุการใช้งานของโรงงานไฟฟ้าที่มีอยู่

ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศและพลังงานก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า หลังเกิดเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิล เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าหายนะจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ ภัยธรรมชาติกำลังเลวร้ายขึ้นไม่ว่าจะพายุ แผ่นดินไหว คลื่นความร้อน เราไม่รู้ว่าภัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้โรงงานไฟฟ้านิเวคลียร์เกิดอุบิตเหตุอะไรขึ้นอีกได้บ้าง

ความคิดเห็นจากประชาชน

ข้อถกเถียงนำไปสู่สิทธิพื้นฐานของประชาชนนั่นคือการฟังเสียงของสาธารณชนชาวเยอรมัน โดยสถานีโทรทัศน์ RTL และ NTV ได้ทำแบบสำรวจและพบว่า 2 ใน 3 ของประชากรคัดค้านการเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ โดยให้เหตุผลว่า โรงงานที่เหลือควรเดินเครื่องต่อไปในช่วงนี้ เพราะกลัวเกิดวิกฤตพลังงาน

ซึ่งขัดกับแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2019 ที่พบว่าชาวเยอรมันร้อยละ 60 ออกมาสนับสนุนการยกเลิกพลังงานนิวเคลียร์

แค่อยากหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นเอง Cr. Pixarbayแค่อยากหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นเอง Cr. Pixarbay

ผลที่คาดหวังจากการยกเลิกพลังงานนิวเคลียร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานกล่าวว่า พลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบันหากมีการย้ายจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พลังงานนิวเคลียร์เป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ของโครงข่ายไฟฟ้าของเยอรมนี หากอยากเปิดก็ต้องวางแผนใหม่หมด ทั้งความปลอดภัย การอัปเกรด การลงทุน ซึ่งมันไม่คุ้มเอาเสียเลย

ยิ่งไปกว่า เหตุผลที่ยกเลิกพลังงานนิวเคลียร์ ก็เพื่อเราจะได้หาทางในการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานพลังงานหมุนเวียนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายสภาพอากาศโลกด้วย นั่นหมายความว่า เราเปลี่ยนการลงทุนจากนิวเคลียร์ไปสู่พลังงานสะอาด จำพวกพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมแทนจะคุ้มกว่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในขณะเดียวกันเราก็ยกเลิกพลังงานถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นพิษต่อโลกลงไปได้

ที่มาข้อมูล

Foreignpolicy (EP)

Source : Spring News

แบตเตอรี่โซเดียมไอออน จากแร่เกลือหิน ครั้งแรกในไทย รองรับพลังงานทดแทน

ม.ขอนแก่น สุดเจ๋ง เปิดตัว แบตเตอรี่ โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย ครั้งแรกในอาเซียน  รองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมแบตเตอรีในอนาคต แม้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิล…

ปตท.จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท GML ลุยธุรกิจโลจิสติกส์ เชื่อมโยงระบบเครือข่ายขนส่งทั้งหมดของประเทศ

ปตท.แจ้งตลาดหลักทรัพย์ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โกลบอล มัลติโมดัล โลจิสติกส์ จำกัด หรือ GML เพื่อลุยธุรกิจโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายขนส่งทั้ง​หมดของประเทศไทยทั้ง ทางราง…

KBank – EGAT – KBTG พัฒนาแอปพลิเคชัน “ปันไฟ”แพลตฟอร์มบริหารจัดการไฟฟ้าจากแผงโซลาร์

KBank – EGAT – KBTG พัฒนาแอปพลิเคชัน “ปันไฟ”(Punfai) สำหรับแลกเปลี่ยนไฟฟ้าทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจคาดเริ่มทดลองใช้เฉพาะกลุ่ม​ใน ERC Sandbox…

Leave a Reply