News & Update

ตลาดคาร์บอนเครดิตโลก กลุ่มพลังงานน้ำศักยภาพสูงสุด

ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ระบุว่าหนึ่งในมาตรการสำคัญที่เรียกได้ว่ามีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่เป็นคู่ค้าของกลุ่มประเทศ EU คือ มาตรการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นมาตรการภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)

ที่เป็นกลไกการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน หรือ CBAM ซึ่งเกิดจากการที่ EU ใช้มาตรการ EU ETS (Emission Trading Scheme) เก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ นำไปสู่การชดเชย และซื้อขายคาร์บอน ผ่านตลาดคาร์บอนเครดิต ที่ทั่วโลกมีแพลตฟอร์มกลางใช้เสนอขายและต่อรองราคาซื้อกันอย่างกว้างขวาง ในส่วนของแพลตฟอร์มกลางของสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ UNFCCC ได้ระบุถึงแพลตฟอร์มการซื้อขายโครงการที่ลด หลีกเลี่ยง หรือ เลิกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยโครงการต่างๆ ที่นำเสนอราคาขายผ่านแพลตฟอร์มจะต้องผ่านการรับรองความสามารถการลดก๊าซเรือนกระจก หรือ  Certified Emission Reductions (CERs) จากนั้นจะต้องแจ้งปริมาณการลดคาร์บอนก่อนจะเปิดขาย ซึ่งผู้ซื้อจะเป็นธุรกิจหรือองค์กรที่มีการปล่อยคาร์บอนเกินกำหนดจนอาจถูกมาตรการทางการค้า หรือมาตรการอื่นๆ

ตลาดคาร์บอนเครดิตโลก กลุ่มพลังงานน้ำศักยภาพสูงสุด

Source : กรุงเทพธุรกิจ

ติดโซลาร์รูฟหนีค่าไฟ เคแบงก์-SCB อัดฉีดสินเชื่อหนุน NetZero

ยักษ์เอกชนแห่ใช้พลังงานทดแทนลดต้นทุนค่าไฟ “ศรีตรัง-CPF-WHA-S&P” เดินหน้าขยายลงทุน “โซลาร์รูฟ” เคแบงก์-SCB อัดแคมเปญดอกเบี้ยหนุนสินเชื่อธุรกิจ-บ้านติดตั้ง “solar roof” ชี้ประหยัดได้กว่า 60%…

ที่แรกในไทย ป้ายรถเมล์ติดแอร์ ‘Sabuy Square’ เอาใจคนกรุงไม่ต้องร้อนแล้ว

ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ และ บริษัท คูลคูล จำกัด ร่วมกับกรุงเทพมหานคร นำร่องจัดทำ “Sabuy Square” ป้ายรถเมล์ติดแอร์…

ยักษ์ใหญ่ชิงสมรภูมิโซลาร์รูฟ หนีค่าไฟแพง “ยูนิตละ4บาท”

บิ๊กธุรกิจโดดชิงเค้ก “ตลาดโซลาร์” เอกชนแห่ติดหนีค่าไฟแพง ประหยัดสูงสุด 30% พ่วงสิทธิประโยชน์ขายคาร์บอนเครดิตสู้โลกร้อน “กัลฟ์” ผนึกพันธมิตรตั้งบริษัทร่วมทุน SCG-CRC ฝั่ง…

Leave a Reply